ว่าด้วยเรื่องของไดร์เวอร์หูฟังแบบเข้าใจง่าย !

ว่าด้วยเรื่องของไดร์เวอร์หูฟังแบบเข้าใจง่าย !
6 พฤษภาคม 2022 12109 ผู้เข้าชม
ว่าด้วยเรื่องของไดร์เวอร์หูฟังแบบเข้าใจง่าย !

ว่าด้วยเรื่องของไดร์เวอร์หูฟังแบบเข้าใจง่าย !

          สวัสดีจ้า วันนี้ทีมงาน 425Audio จะขอพูดถึงเรื่องของไดร์เวอร์หูฟังแต่ละประเภทว่ามันมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทหน้าตาเป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร และส่งผลยังไงต่อการเลือกใช้หูฟังบ้าง จริงอยู่ว่าในอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลเกี่ยวกับไดร์เวอร์หูฟังมากมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วอาจจะเข้าใจยากสักนิดสำหรับมือใหม่ วันนี้ทีมงาน 425Audio จะมาอธิบายความรู้เกี่ยวกับไดร์เวอร์แบบเข้าใจง่ายๆ เพื่อให้นักเล่นมือใหม่ได้เข้าใจ และใช้ข้อมูลตรงนี้ในการเลือกหูฟังที่เหมาะกับเราได้ง่ายขึ้น มาดูกันครับ

 

ไดร์เวอร์คืออะไร สำคัญอย่างไร ?

          ไดร์เวอร์ ไดรฟ์เวอร์ หรือ driver ในหูฟังคือ “ตัวกำเนิดเสียง” ในรูปแบบของคลื่นความถี่เสียงที่มนุษย์อย่างเราๆสามารถได้ยินได้ ซึ่งไดร์เวอร์แต่ละประเภทก็จะมีส่วนประกอบและหลักการทำงานที่คล้ายๆกันแต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว ไดร์เวอร์ในหูฟัง (หรือแม้แต่ลำโพง) จัดว่าเป็นส่วนประกอบหัวใจหลักที่หูฟังและลำโพงขาดไม่ได้ เพราะหากขาดมันไป มันก็จะไม่มีเสียง เพราะมันไม่มีตัวกำเนิดเสียงมาเปล่งให้เราได้ยินนั่นเองครับ

 

ไดร์เวอร์มีกี่ประเภท แต่ละประเภททำงานยังไง และมีข้อดีตรงไหนบ้าง ?

ปัจจุบัน ไดร์เวอร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปจะมีอยู่ 5 ประเภท และอีก 2 รูปแบบนั่นคือ..

ไดร์เวอร์ ไดนามิค (Dynamic Driver หรือ DD)

ไดร์เวอร์ บาลานส์อามาเจอร์ (Balanced Armature Driver หรือ BA)

ไดร์เวอร์ โบนคอนดักชัน(Bone Conduction Driver)

ไดร์เวอร์ อิเล็คโตรสแตติก (Electrostatic Driver)

ไดร์เวอร์ พลาน่าแม็กเนติก (Planar Magnetic Driver)

กับอีก 2 รูปแบบนั้นคือพวกลูกแฝดและลูกผสม..

ไดร์เวอร์แบบ มัลติเพิล (Multiple Driver)

ไดร์เวอร์แบบ ไฮบริด (Hybrid Driver)

 

ไดร์เวอร์ไดนามิค (Dynamic Driver หรือ DD)

หูฟัง,ไดร์เวอร์,driver,dynamic,balanced armature,plana magnetic,edifier,earfun,soundpeats

           หูวว ไดร์เวอร์ไดนามิคเป็นไดร์เวอร์ที่ใช้อย่างแพร่หลายมาอย่างยาวนาน และเราทุกคนล้วนแต่เคยสัมผัสกับไดร์เวอร์ประเภทนี้มาแล้วทั้งนั้น เพราะพวกหูฟังมีสายที่แถมมากับสมาร์ทโฟนในยุคก่อนล้วนแต่ใช้ไดร์เวอร์ไดนามิคแทบทั้งสิ้น (ใครเจอหูฟังแถมโทรศัพท์ที่ใช้ไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์บอกแอดมินด้วย) หรือแม้แต่ลำโพงคอม ลำโพงบ้านทั่วๆไปตามท้องตลาด ก็ต่างใช้ไดร์เวอร์ไดนามิคทั้งนั้นเลยจ่ะ..

มันมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ?

  • ขดลวดทองแดงสำหรับเหนี่ยวนำไฟฟ้า (voice coil)
  • แม่เหล็ก (magnetic)
  • ไดอะแฟม (diaphragm)

มันทำงานอย่างไร ?

          เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกปล่อยไหลยังตัวนำ ส่งตรงถึงแม่เหล็กมันจะเกิดสนามแม่เหล็ก และสนามแม่เหล็กตรงนี้เนี่ยแหละครับที่จะทำให้แผ่นไดอะแฟมสั่นกระพรือเข้าและออกรัวๆ (นึกภาพดอกลำโพงงานวัดครับ ไดอะแฟมในหูฟังจะสั่นแบบนั้นเลย) ซึ่งเมื่อแผ่นไดอะแฟรมสั่นมันจะเกิดเป็นคลื่นเสียง sound wave วิ่งส่งตรงถึงแก้วหูของท่านให้ได้ยิน นั่นเองครับ

จุดเด่น

  • ตอบสนองย่านเสียงได้ทุกย่าน
  • เก่งเสียงย่านตํ่า ให้เสียงเบสที่แรงปะทะฟังสนุก
  • มิติเสียงมีความเป็นธรรมชาติ
  • ราคาถูก 55+

จุดด้อย

  • มีค่าความผิดเพี้ยนของเสียงมาก (distortion) เมื่อเปิด volume ดังๆ
  • ไม่ค่อยเก่งเสียงย่านสูง หรือเสียงแหลม

แนะนำหูฟัง Dynamic Driver ที่ทีมงานชื่นชอบ : 

 

ไดร์เวอร์บาลานส์ อามาเจอร์ (Balanced Armature Driver หรือ BA)

หูฟัง,ไดร์เวอร์,driver,dynamic,balanced armature,plana magnetic,edifier,earfun,soundpeats

          แรกเริ่มเดิมทีไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์ถูกใช้เป็นไดร์เวอร์เครื่องช่วยฟังสำหรับคนที่มีความผิดปกติทางการฟังเสียง แต่ภายหลังไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์ถูกนำมาใช้ในหูฟังฟังเพลงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหูฟัง IEM ทั้งหลาย หรือหูฟังทรง in-ear ที่เราคุ้นเคยกันในทุกวันนี้ อันเนื่องมาจากมันเป็นไดร์เวอร์ที่มีขนาดเล็กมากๆนั่นเองครับ

มันมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ?

  • แผ่นโลหะ armature ลักษณะเป็นตัว U
  • ขดลวดทองแดง (coil)
  • แผ่นไดอะแฟม (diaphragm)
  • แม่เหล็ก (magnetic)

มันทำงานอย่างไร ?

          กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ส่งผลให้แผ่นโลหะ armature ขยับขึ้น-ลงอัดกับแผ่นไดอะแฟมที่อยู่ด้านบน จนเกิดเป็นเป็นคลื่นเสียงไหลออกจากท่อปล่อยเสียง

จุดเด่น

  • มีขนาดเล็กมาก ทำให้เหลือพื้นที่ในหูฟังสำหรับเพิ่มแบตเตอรี่ ใส่เทคโนโลยี หรือผสมผสานการใช้ไดร์เวอร์มากกว่า 1 ตัวในการขับเสียงพร้อมกัน
  • ง่ายต่อการปรับจูน แบ่งให้ขับเฉพาะย่านเสียงที่ผู้ผลิตต้องการได้
  • ตอบสนองเสียงได้กว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เก่งเสียงย่านสูงมากๆ
  • ให้รายละเอียดเสียงชัดเจน
  • ขับง่าย กินไฟน้อย

จุดด้อย

  • หากหูฟังซีลกันเสียงไม่ดี อาจทำให้สูญเสียย่านตํ่าไปได้ง่าย
  • เสียงเบสฟังไม่สนุกเท่าไดร์เวอร์ไดนามิค

แนะนำหูฟัง Balanced Armature Driver ที่ทีมงานชื่นชอบ : 

 

ไดร์เวอร์ โบนคอนดักชัน (Bone Conduction Driver)

หูฟัง,ไดร์เวอร์,driver,dynamic,balanced armature,plana magnetic,edifier,earfun,soundpeats

          ไม่รู้ว่าเรียกไดร์เวอร์ได้ไหม แต่สำหรับทีมงานแล้วไดร์เวอร์ Bone Conduction ก็จัดว่าเป็นไดร์เวอร์ที่ส่งคลื่นเสียงแตกต่างจากไดร์เวอร์อื่นๆ แรกเริ่มไดร์เวอร์ Bone Conduction ถูกใช้กับเครื่องมือสื่อสารในกองทัพ เพื่อที่จะได้ยินเสียงปลายสายในขณะที่ยังได้ยินเสียงรอบๆตัวเพื่อระวังข้าศึกได้ในเวลาเดียวกัน นั่นก็เพราะว่า มันใช้วิธีส่งคลื่นเสียงผ่านกระโหลกบริเวณขมับกับกระดูกกรามไปยังโสดประสาทและสมองโดยตรง ไม่ได้ส่งคลื่นเสียงผ่านช่องหูเหมือนหูฟังทั่วไปนั่นเองครับ

          มีเรื่องเล่าว่า แนวคิดการสร้างหูฟัง Bone Conduction มาจากการที่เบโธเฟ่น (Beethoven) คาบไม้ไว้ที่ปาก ปลายไม้อีกด้านทิ่มเข้ากับเปียโน เมื่อกดลิ่มบนเปียโน เปียโนจะเกิดการสั่นสะเทือนไหลผ่านมาตามไม้ไปยังฟันและกระดูกกรามของเค้า นั่นทำให้เค้าได้ยินเสียงของเปียโนได้ เหตุที่เค้าทำเช่นนี้นั่นก็เพราะว่าเบโธเฟ่นหูหนวก เค้าเลยต้องใช้วิธีนี้ในการฟังเสียงเปียโนเพื่อแต่งเพลงนั่นเองครับ

มันมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ?

  • ตัวนำ (coil)
  • ยูนิตสั่นสะเทือน (Vibrator Unit)
  • แผ่นฟิลม์ (composite film)

มันทำงานอย่างไร ?

          กระแสไฟฟ้าไหลเข้าหูฟังผ่านตัวนำ​ และส่งคลื่นเสียงผ่านการสั่นสะเทือนของ vibrator unit เข้ากระดูกช่วงขมับและกระดูกกราม ซึ่งคลื่นเสียงนี้จะไหลเข้าไปยังโสดประสาทและสมองได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องผ่านช่องหู

จุดเด่น

  • ฟังเพลงไปพร้อมๆกับฟังเสียงรอบตัวได้อย่างชัดเจน
  • เหมาะกับใส่ทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬา outdoor
  • คนที่หูหนวกเนื่องจากแก้วหูมีความผิดปกติ ก็สามารถใช้ฟังเพลงได้

จุดด้อย

  • คุณภาพเสียงอาจไม่ดีเท่าไหร่นัก
  • เสียงย่านตํ่าน้อย หรือแทบไม่มีเลย
  • บางท่านอาจรำคานเนื่องจากเป็นหูฟังที่สั่นอยู่ตลอดเวลา

แนะนำหูฟัง Bone Conduction ที่ทีมงานชื่นชอบ : 

 

ไดร์เวอร์ อิเล็คโตรสแตติก (Electrostatic Driver)

หูฟัง,ไดร์เวอร์,driver,dynamic,balanced armature,plana magnetic,edifier,earfun,soundpeats

          เป็นไดร์เวอร์เทคโนโลยีขั้นสูง ที่มักถูกใช้ในหูฟังแพงๆระดับ Hi-end ยัน Super Hi-end แต่ก่อนมักถูกใช้ในหูฟังทรงครอบหู แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการนำไดร์เวอร์ประเภทนี้มาใช้ในหูฟังทรง in-ear แล้ว ไดร์เวอร์ Electrostatic เป็นไดร์เวอร์ที่มีราคาสูงมากที่สุดในบรรดาไดร์เวอร์ประเภทอื่นๆครับ

มันมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ?

  • แผ่นตะแกรงเหล็ก (Stator Grid)
  • แผ่นไดอะแฟมที่บางมากๆ (diaphragm)

มันทำงานอย่างไร ?

          ส่งประแสไฟฟ้าขั้ว + และขั้ว - ไปยังตะแกรงเหล็ก stator grid ที่ประกบกับแผ่นไดอะแฟมที่อยู่ระหว่างกลาง ส่งผลให้เกิดสนามแม่เหล็ก ทำให้แผ่นไดอะแฟมขยับเข้า-ออกจนเกิดเป็นคลื่นเสียง

จุดเด่น

  • ไม่มีค่าความผิดเพี้ยนของเสียงเลย
  • เสียงมีความเที่ยงตรงมาก
  • ตอบสนองต่อย่านเสียงได้ฉับไว

จุดด้อย

  • กินไฟเยอะ หูฟังที่ใช้ไดร์เวอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่ต้องอาศัยแอมป์ในการขับ
  • ขนาดใหญ่ นํ้าหนักเยอะ เทอะทะ
  • ราคาแพงมาก

 

ไดร์เวอร์ พลาน่าแม็กเนติก (Planar Magnetic Driver)

หูฟัง,ไดร์เวอร์,driver,dynamic,balanced armature,plana magnetic,edifier,earfun,soundpeats

          เป็นไดร์เวอร์ที่หลักการทำงานคล้ายกับ dynamic driver และ electrostatic driver ส่วนมากพบเห็นในหูฟังทรงครอบหู แต่ในปัจจุบันก็มีการนำไดร์เวอร์ประเภทนี้มาใช้ในหูฟังทรง in-ear (แต่ยังถือว่าน้อยมากๆ) ไดร์เวอร์ประเภทนี้ เป็นไดร์เวอร์ที่ลบจุดด้อยของความเป็นไดร์เวอร์ไดนามิคที่มีค่าความเพี้ยนของเสียงอยู่เยอะ และลบจุดด้อยของไดร์เวอร์ Electrostatic ที่ขับยาก ต้องต่อแอมป์เพิ่ม นั่นทำให้หูฟังไดร์เวอร์ Planar Magnetic เป็นหูฟังที่ค่าความผิดเพี้ยนของเสียงตํ่ามาก ขับง่าย ไม่ต้องต่อแอมป์เพิ่ม !

มันมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ?

  • แผ่นแม่เหล็ก (Fazor)
  • ตะแกรงแม่เหล็ก (Stator with Magnet)
  • แผ่นไดอะแฟมบางๆ มีสายไฟและลายวงจรไฟฟ้าบนแผ่น (Untra-thin substrate with circuit trace pattern)

มันทำงานอย่างไร ?

กระแสไฟไหลเข้ามายังตัวนำจนเกิดเป็นสนามแม่เหล็ก ส่งผลให้แผ่นฟิลม์ไดอะแฟรมบางๆที่มีลายแผงวงจรสั่นจนเกิดเสียง

จุดเด่น

  • ค่าความผิดเพี้ยนตํ่ามากหรือจนแทบไม่มีเลย
  • ขับง่าย ไม่ต้องใช้แอมป์ขับเหมือนไดร์เวอร์ Electrostatic
  • ตอบสนองย่านเสียงเบสได้ดีมาก
  • มิติเสียงสมจริง ให้รายละเอียดชัดไม่เหมือนหูฟังไดร์เวอร์ประเภทอื่น

จุดด้อย

  • นํ้าหนักค่อนข้างเยอะ (แต่ยังเบากว่าหูฟัง Electrostatic)
  • เสียงแหลมจะไม่ค่อยจัดจ้านมากนัก

แนะนำหูฟัง Planar Magnetic driver ที่ทีมงานชื่นชอบ : 

 

          นอกจากไดร์เวอร์ทั้งหมดนี้แล้ว ในตลาดหูฟังยังมีไดร์เวอร์ในรูปแบบของการผสมผสาน ที่มีการใช้ไดร์เวอร์มากกว่า 1 ตัวที่เป็นประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกัน ซึ่งนักเล่นหูฟังจะรู้จักมันในนามของ Multiple Driver หรือ Hybrid Driver ครับ

          เหตุที่มีไดร์เวอร์รูปแบบนี้เกิดขึ้นนั้น ผู้ผลิตหูฟังเล็งเห็นว่าไดร์เวอร์แต่ละประเภทต่างมีจุดเด่นจุดด้อย เพื่อเป็นการเสริมจุดเด่น ลบจุดด้อยให้กับหูฟังแค่ละตัว เลยมีการใช้ไดร์เวอร์มากกว่า 1 ตัวในการขับเสียงเช่น ไดร์เวอร์ไดนามิคเก่งย่านเสียงตํ่า ก็จับให้มันขับเฉพาะเสียงย่านตํ่า และจับไดร์เวอร์ที่เก่งเสียงแหลมอย่างไดร์เวอร์ Balance Armature ให้ขับเฉพาะเสียงย่านแหลม แล้วใส่แผงวงจรตัดแบ่งสัญญาณ crossover ให้ไดร์เวอร์ทั้งสองตัวเล่นเสียงพร้อมกันให้ฟังดูเป็นเนื้อเดียวกันที่สุด นั่นเองครับ

 

ไดร์เวอร์คู่ (Multiple Driver หรือ Dual Driver)

หูฟัง,ไดร์เวอร์,driver,dynamic,balanced armature,plana magnetic,edifier,earfun,soundpeats

          เป็นการนำไดร์เวอร์ประเภทเดียวกันจำนวน 2 ตัว มาขับเสียงพร้อมกัน โดยไดร์เวอร์แต่ละตัวจะทำหน้าที่ขับเสียงย่านไหนนั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าจะให้ไดร์เวอร์ตัวไหน ขับเสียงย่านไหนนั่นเองครับ

แนะนำหูฟัง Dual Driver ที่ทีมงานชื่นชอบ : 

 

ไดร์เวอร์แบบไฮบริด (Hybrid Driver)

หูฟัง,ไดร์เวอร์,driver,dynamic,balanced armature,plana magnetic,edifier,earfun,soundpeats

          เป็นการใช้ไดร์เวอร์ต่างประเภทกันจำนวน 2 ตัว (หรือมากกว่าแล้วแต่การออกแบบของผู้ผลิต) หูฟังส่วนมากที่เป็นไดร์เวอร์ไฮบริดมักจะใช้ไดร์เวอร์ไดนามิคและไดร์เวอร์บาลานส์อามาเจอร์ทำงานร่วมกันครับ

จุดเด่น

  • โทนเสียงแปลกใหม่ มีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจน
  • ตอบสนองย่านเสียงได้ดีทุกย่าน
  • ให้รายละเอียดเสียงที่คมขัด

จุดด้อย

  • มิติเสียงจะไม่ค่อยธรรมชาติเหมือนหูฟังไดร์เวอร์เดียว
  • หากผู้ผลิตจูนเสียงไม่ดี อาจทำให้มิติเสียงฟังดูมีรอยต่อ ไม่สมูทหรือกลมกล่อม

แนะนำหูฟัง Hybrid Driver ที่ทีมงานชื่นชอบ : 

 

ไดร์เวอร์แต่ละประเภท ส่งผลอย่างไรต่อการเลือกใช้หูฟัง ?

          ทั้งหมดทั้งมวลแล้ว ไดร์เวอร์แต่ละประเภทหรือแต่ละรูปแบบให้คาแรคเตอร์เสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้ฟังว่าชอบคาแรคเตอร์เสียงของไดร์เวอร์ประเภทไหน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วไม่ว่าจะเป็นไดร์เวอร์ประเภทอะไรก็ตาม คุณภาพเสียงจะดีหรือไม่ดีนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเภทไดร์เวอร์หรือจำนวนของไดร์เวอร์ แต่ขึ้นอยู่กับการจูนเสียงของผู้ผลิตว่าสามารถจูนเสียงออกมาได้น่าฟังมากน้อยเพียงใดมากกว่าครับ

          และนี่ก็เป็นเรื่องราวของไดร์เวอร์แต่ละประเภทที่อยู่ในหูฟังที่เราใช้ เห็นได้ชัดเจนว่าโลกของหูฟังนั้นมีมิติที่หลากหลาย มีเรื่องที่น่าสนใจน่าศึกษาและน่าทดลองอยู่เยอะแยะมากมายมากๆ และเพื่อนๆละ ชอบหูฟังไดร์เวอร์อะไรกันบ้างก็อย่าลืมมาพูดคุยกับเราใน Facebook Page ของเราได้ ที่นี่

          หากเพื่อนๆคนไหนสนใจหูฟังไร้สาย หูฟังมีสาย ลำโพง และอุปกรณ์ฟังเพลงอื่นๆ อยากได้คำแนะนำ คำปรึกษา ก็ตบเท้ากันเข้ามาได้ที่ www.425degree.com หรือเฟสบุ๊คเพจ 425Audio เรายินดีให้บริการเพื่อนๆทุกท่านอย่างเต็มใจทั้งก่อนและหลัง สุดท้ายแอดมินขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ