แนะนำเทคนิคการปรับ EQ (Equalizer) หูฟังง่ายๆ ใครก็ทำได้! ปรับความถี่ช่วงไหน…เป็นยังไง 425Audio มีคำตอบครับ

eq-equalizer-technique-true-wireless
19 ธันวาคม 2022 52782 ผู้เข้าชม
แนะนำเทคนิคการปรับ EQ (Equalizer) หูฟังง่ายๆ ใครก็ทำได้! ปรับความถี่ช่วงไหน…เป็นยังไง 425Audio มีคำตอบครับ

 

ก่อนอื่น ทำความรู้จัก EQ หรือ Equalizer

  • สำหรับ EQ หรือ Equalizer นั้นเรียกง่ายๆว่ามันคือเครื่องมือที่มีหน้าที่หรือฟังก์ชั่น “เพิ่ม-ลดความดัง” ของแต่ย่านความถี่เสียงนั่นเองครับ โดยปกติทั่วไปแล้วเรามักจะพบเจอกันตามอุปกรณ์เครื่องเสียงระดับมืออาชีพ หรืออาจพบเห็นตามเครื่องเสียงบ้านเป็นหลักครับ
  • โดยปกติทั่วไปแล้ว เรามักใช้งานเครื่องมือ EQ (Equalizer) สำหรับปรับแต่งเสียง หรือแก้ไขความบกพร่องของย่านความถี่เสียงที่มากหรือน้อยเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานร่วมกับ หูฟัง/ลำโพง เพื่อให้เสียงที่ออกมาสู่อุปกรณ์ปลายทาง(Output) ได้อย่างสมดุลหรือบาลานซ์(Balance) เป็นธรรมชาติมากที่สุดนั่นเองครับ 

EQ (Equalizer) มีหน้าที่หรือฟังก์ชั่น “เพิ่ม-ลดความดัง” ของแต่ย่านความถี่เสียง

 

ทำไมต้องใช้ EQ (Equalizer)

  • สำหรับเพื่อนๆมือใหม่อาจยังไม่เก็ท ไม่เข้าใจถึงประโยชน์การใช้งานของ EQ (Equalizer) ว่าจริงๆแล้วมันมีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงต้องใช้ ?

  • 425Audio จะขอเล่าถึงเหตุการณ์จริงในชีวิตจริงละกันครับ ทีมงานสมาชิก 425Audio มีโอกาสทำงานในสายงาน Sound Engineer ไปด้วย ซึ่งหลักๆแล้วมีหน้าที่ควบคุม เสียงของนักดนตรีบนเวที > ส่งตรงไปยังผู้ชม (ทำยังไงก็ได้ให้เสียงเครื่องดนตรีที่ออกไปยังลำโพงนั้นมีความผิดเพี้ยนของเสียงน้อยที่สุด)

     

  • ซึ่งความเป็นจริงแล้ว แทบไม่มีความเป็นไปได้เลยที่จะทำให้ไม่ผิดเพี้ยน เนื่องจากมีองค์ประกอบในเรื่องเสียงอยู่หลายอย่างมากครับ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ Processor ต่างๆ,ชนิดของลำโพง,สถานที่ห้อง(Acoustic Room),จำนวนคน,ไมโครโฟนรับเสียง ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวมีผลทำให้เสียงผิดเพี้ยนทั้งหมด

     

  • หน้าที่ของ Sound Engineer ก็ต้องมีหน้าที่ในการปรับแต่งโทนเสียงที่ออกมาจากลำโพงให้กลับไปเป็นเสมือนเสียงของเครื่องดนตรีจริงมากที่สุด เพื่อให้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นนักดนตรี,ศิลปิน รวมถึงผู้ฟังนั้นรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติของเสียงและเกิดความไพเราะ แฮปปี้มากที่สุด โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า EQ (Equalizer) นั่นเองครับ

     

truewireless,หูฟังไร้สาย,EQ,Equalizer,ปรับเสียงหูฟังยังไง,ปรับ EQ เสียงหูฟัง,หูฟังบลูทูธ,หลักการใช้งาน EQ

 

 

หูฟังรุ่นไหน ปรับ EQ เสียงได้บ้าง?


 

 

truewireless,หูฟังไร้สาย,EQ,Equalizer,ปรับเสียงหูฟังยังไง,ปรับ EQ เสียงหูฟัง,หูฟังบลูทูธ,หลักการใช้งาน EQ

ก่อนปรับแต่ง EQ เสียง ต้องรู้จักอะไรบ้าง?

  • อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะปรับแต่ง EQ เสียง เราควรรู้จุดหมายความต้องการที่แน่ชัดเสียก่อนครับ ว่าอยากควบคุมเสียงในช่วงความถี่ไหน, อยากได้อะไรจากการปรับ เพราะอะไร? ถึงต้องปรับ
  • หาก 425Audio เปรียบเปรยเสียงเพลง เป็นเสมือนอาหาร แน่นอนว่าอาหารที่อร่อยถูกปาก ต้องมาพร้อมรสชาติที่ครบรส หรือ อาจจะไม่ครบทุกรส แต่มีคาแรคเตอร์รสชาติที่ถูกต้องตามสไตล์

  • ถ้าหากว่าเรารู้ว่า อาหารจานนั้นขาดรสหวาน ก็ต้องเติมน้ำตาล ไม่ใช่เติมน้ำปลา เมื่อปรุงถูกหรือใช้ได้อย่างเข้าใจ “อาหารจานนั้นถึงจะอร่อยถูกปาก”

  • ไม่ต่างกับเรื่องเสียง “เสียงที่ครบเครื่อง” ก็ควรมีการตอบสนองออกมาได้ครบย่านความถี่เสียง” หรือโทนเสียงตรงตามคาแรคเตอร์เสียง ถึงจะทำให้รู้สึกว่า “การฟังมีอรรถรส” ซึ่งการฟังนั้นควรมีความพอดีของทุกๆย่านเสียง

  • แต่ถ้าหากว่าเรายังไม่รู้จักเครื่องมือที่ตัวเองมีอยู่ว่าทำอะไรได้บ้างก็จะทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่เช่นกันครับ

 

truewireless,หูฟังไร้สาย,EQ,Equalizer,ปรับเสียงหูฟังยังไง,ปรับ EQ เสียงหูฟัง,หูฟังบลูทูธ,หลักการใช้งาน EQ

 

รู้จักปุ่ม Parameter ที่สำคัญใน EQ (Equalizer) กันก่อน

  • Frequency Range (EQ Band) : ช่วงความถี่ที่ต้องการปรับหรือควบคุม
  • Gain : ปรับระดับ, เพิ่ม-ลดย่านความถี่ที่ต้องการ
  • ค่า Q Factor : ปรับความละเอียดความกว้าง-แคบ ในช่วงความถี่ที่เลือก (ค่า Q ต่ำ ส่งผลกระทบช่วงความถี่ที่กว้าง, ค่า Q สูง ส่งผลกระทบช่วงความถี่ที่แคบ)

 

ต่อมา “ต้องฝึกฟังย่านความถี่เสียง”

  • โดยปกติแล้วเราจะแบ่งช่วงความถี่เสียงหลักๆเป็น 3 ช่วงครับ เป็นย่านความถี่เสียงต่ำ(Low Frequency), ย่านความถี่เสียงกลาง(Middle Frequency), ย่านความถี่เสียงสูง(High Frequency) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแนวเสียงที่ถูกจริตหรือคำว่าครบเครื่องของแต่ละบุคคลก็มีรสนิยมที่แตกต่างกันออกไปอีก

 

ทำความรู้จัก 3 ย่านความถี่เสียงหลัก

truewireless,หูฟังไร้สาย,EQ,Equalizer,ปรับเสียงหูฟังยังไง,ปรับ EQ เสียงหูฟัง,หูฟังบลูทูธ,หลักการใช้งาน EQ

 

1.เสียงต่ำหรือเสียงเบส (Low Frequency, Bass)

  • สำหรับในช่วงความถี่เสียงต่ำหรือเบส จะมีการตอบสนองของเสียงในย่านความถี่ช่วงประมาณ 20 Hz - 200 Hz (เฮิร์ต) ซึ่งช่วงความถี่ดังกล่าวจะให้ความรู้สึกหรือฟิลลิ่งในการฟังที่รู้สึกแน่น,อวบอิ่มของเพลงได้ดี

  • ในขณะเดียวกันถ้าขาดช่วงย่านความถี่ดังกล่าวไป จะทำให้รู้สึกว่าการฟังบางลงหรือรู้สึกแห้งเกินไป การฟังเพลงบางสไตล์เพลงอาจรู้สึกไม่สนุก ยกตัวอย่างเช่นเพลง Rock, Hip-Hop

 

1.1 เสียงซับ (Sub Bass, Deep Bass)

  • หากลงลึกในย่านเสียงต่ำลงไปอีก จะมีอีกย่านเสียงก็คือย่านเสียงซับ ย่านเสียงประเภทนี้จะตอบสนองความรู้สึกมากกว่าการได้ยินเช่น การฟังที่รู้สึกแน่นอกหรือกระแทกอกเมื่อฟังเสียงในคอนเสิร์ต รู้สึกถึงแรงสั่นที่ลึกเมื่อเสียงพุ่งมากระทบกับพื้น ซึ่งเนื้อเสียงดังกล่าวจะมีความถี่อยู่ในช่วง 20 - 60 Hz โดยประมาณ

 

ตัวอย่างเสียงที่อยู่ในช่วงเสียงต่ำ (Low Frequency, Bass)

  • กระเดื่องกลอง(Kick Drum)
  • กีตาร์เบส(E.Bass) 

 

truewireless,หูฟังไร้สาย,EQ,Equalizer,ปรับเสียงหูฟังยังไง,ปรับ EQ เสียงหูฟัง,หูฟังบลูทูธ,หลักการใช้งาน EQ

2.เสียงกลาง(Middle Frequency, Mid)

  • ในช่วงความถี่เสียงกลางจะมีการตอบสนองของช่วงเสียงที่ค่อนข้างกว้างกว่าย่านอื่นๆ ตั้งแต่ช่วง 200 Hz - 7kHz ครับ ซึ่งช่วงความถี่ดังกล่าวจะให้ความรู้สึกหนา-บาง รวมถึงคาแรคเตอร์ของความชัดเจนของเสียงเครื่องดนตรีแทบจะทุกชนิด รวมไปถึงเสียงร้องครับ

  • หากความถี่ในช่วงเสียงกลางเยอะเกินไปอาจทำให้รู้สึกกระด้าง ผิดธรรมชาติของเสียงเครื่องดนตรี รวมไปถึงเสียงของนักร้องที่รู้สึกเสียงขึ้นจมูก แต่ถ้าหากความถี่ดังกล่าวน้อยเกินไป ก็จะทำให้รู้สึกถึงเนื้อเสียงที่บางเกินไปครับ

  • ซึ่งในความถี่ย่านเสียงกลางนั้นเราสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก ได้แก่เสียงกลาง-ต่ำ, กลาง, กลาง-สูง โดยมีการแบ่งความถี่เสียงและการตอบสนองของเสียงดังนี้ครับ

 

2.1 เสียงกลางต่ำ (Mid-Low)

  • การตอบสนองของช่วงความถี่เสียงกลาง-ต่ำ จะอยู่ในช่วง 250-700 Hz ความถี่ช่วงเสียงดังกล่าวถือว่าเป็นช่วงความถี่ที่สำคัญไม่แพ้ย่านเสียงอื่นๆ เรียกว่าพระเอกเลยก็ว่าได้สำหรับการฟังเพลงครับ

  • ช่วงความถี่ดังกล่าว หากเยอะเกินไปก็จะส่งผลให้การฟังเครื่องดนตรีบางอย่างขุ่นมัวหรือบวมมากยิ่งขึ้น

  • หรือในขณะเดียวกันหากน้อยเกินไปก็อาจส่งผลถึงของนักร้อง รวมถึงหัวโน้ตของเครื่องดนตรีคอร์ดในเพลงอย่างเช่นกีตาร์, กีตาร์เบสมีความชัดน้อยลง

 

2.2 เสียงกลาง (Mid)

  • การตอบสนองของช่วงความถี่เสียงกลาง จะอยู่ในช่วง 700-3kHz ความถี่ช่วงเสียงดังกล่าว ถือว่าเป็นช่วงความถี่ที่สำคัญต่อเพลง จะช่วยตอบสนองความชัดเจนของเสียงเครื่องดนตรี รวมถึงตอบสนองความเป็นธรรมชาติของเสียงดนตรีเหล่านั้นได้ดี ซึ่งต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะว่าถ้าช่วงความถี่เสียงเหล่านี้มากไป จะทำให้รู้สึกแข็งกระด้าง ถ้าน้อยไปจะไม่เกิดความชัดเจนครับ

 

2.3 เสียงกลาง-สูง (Mid-High)

  • การตอบสนองของช่วงความถี่นี้ จะอยู่ในช่วง 3-7 kHz ซึ่งเป็นช่วงตอบสนองการได้ยินของมนุษย์ที่รับรู้ได้ง่ายที่สุด

  • หากเป็นการเพิ่มความถี่เสียง (Boost) ช่วงดังกล่าว จะส่งผลถึงเสียงของเครื่องดนตรีอย่างกลองชุดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถรับรู้ถึงแรงปะทะหรือ Attack ของชิ้นดนตรีแต่ละใบได้ดี รวมถึงพวกเสียงร้องที่มีความชัดเจนและให้ความรู้สึกของเสียงที่สว่างใสยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควรระวังการเพิ่มที่เยอะเกินไปจนทำให้รู้สึกบาดหู กระด้างหูด้วยครับ

  • แต่ถ้าหากว่าชื่นชอบการฟังแนวเสียงที่ละมุน อบอุ่นยิ่งขึ้น ฟังนวลๆ ฟังสบาย การลดความถี่เสียง(Cut) ในช่วงนี้ก็จะช่วยให้ฟังรวมๆได้สบายขึ้นเช่นกันครับ

 

ตัวอย่างเสียงที่อยู่ในช่วงเสียงกลาง (Middle Frequency, Mid)

  • ชิ้นดนตรีอะคูสติกหลายๆอย่าง
  • กีตาร์
  • เปียโน
  • เครื่องเป่า

 


 

truewireless,หูฟังไร้สาย,EQ,Equalizer,ปรับเสียงหูฟังยังไง,ปรับ EQ เสียงหูฟัง,หูฟังบลูทูธ,หลักการใช้งาน EQ

 

3.เสียงสูง(High Frequency, Treble)

  • สำหรับย่านความถี่เสียงสูง หรือเสียงแหลมจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงความถี่ที่ 7kHz ขึ้นไป หรือบางตำราจะแบ่งช่วงตั้งแต่ 6 kHz - 20 kHz
  • ย่านความถี่ดังกล่าวจะส่งผลถึงการฟังโทนเสียงเครื่องดนตรีให้เคลียร์ยิ่งขึ้น รวมถึงให้ความใสของโทนเสียงรวมๆได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับเพิ่มความถี่เสียงในย่านความถี่ช่วงนี้ขึ้น(Boost) จะได้ความชัดเจนของตำแหน่ง ความโปร่งของโทนเสียงที่ชัดเจนครับ

  • แต่ในขณะเดียวกัน หากเพิ่มโดยไม่ระมัดระวัง ความถี่เสียงช่วงดังกล่าวอาจส่งผลต่อโทนเสียงที่แหลมเสียดหู กลายเป็นเกิดความแข็งกระด้างของเสียงจนเกินไปครับ

 

ตัวอย่างเสียงที่อยู่ในช่วงเสียงสูง (High Frequency, Treble)

  • ฉาบแฉ(Hi-Hat, Ride)
  • หางเสียง หรือปลายเสียงของเครื่องสาย(String, Violin, Viola)
  • ปลายเสียงของเครื่อง Percussion (Shaker, Tambourine)
  • หางเสียงหรือปลายเสียงของนักร้อง รวมถึงเสียงลมหายใจ

 


 

truewireless,หูฟังไร้สาย,EQ,Equalizer,ปรับเสียงหูฟังยังไง,ปรับ EQ เสียงหูฟัง,หูฟังบลูทูธ,หลักการใช้งาน EQ

2 ทริคง่ายๆ ในการปรับ EQ (Equalizer)
แค่ Boost,Cut

  • ซึ่งเทคนิคหลักๆในการใช้งาน EQ (Equalizer) ของทีมงาน 425Audio ก็มีเพียงแค่ ควบคุมความดังของย่านความถี่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้ทุกๆย่านเสียงนั้นเกิดความสมดุลหรือบาลานซ์ของเสียง รวมถึงความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ที่มีนั่นเองครับ

  • การเพิ่ม (Boost) : เพิ่มเมื่อรู้สึกว่า ขาด
  • การลด(Cut) :  ลดเมื่อรู้สึกว่า เกิน

  • เพื่อนๆ 425Audio ลองเอาทริคเล็กๆ น้อยๆเพียง 2 ขั้นตอนนี้ไปทำตามกันดูนะครับ 425Audio เชื่อได้ว่าทริคเล็กๆน้อยๆ 2 ขั้นตอนนี้สามารถช่วยให้เพื่อนๆนั้นใช้งานอุปกรณ์ของตัวเองได้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยให้เพื่อนๆนั้นสามารถฟังรายละเอียดเสียงต่างๆได้ถูกใจมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอนครับ 

 


 

ลองปรับ EQ (Equalizer)…กับ 425Audio

  • เอาล่ะครับ ก็อยู่ในช่วงการทดลอง ซึ่งวันนี้เราก็อยู่กับหูฟังรุ่น FIIL CC Nano ที่มาพร้อมฟีเจอร์ Custom EQ เสียงได้ 10 Band EQ ซึ่ง 425Audio จะลองหยิบมาลองปรับให้ดู เพื่อสาธิตการใช้งานกันครับ

 

truewireless,หูฟังไร้สาย,EQ,Equalizer,ปรับเสียงหูฟังยังไง,ปรับ EQ เสียงหูฟัง,หูฟังบลูทูธ,หลักการใช้งาน EQ

 

วิเคราะห์ย่าน Low

  • โดยปกติทั่วไปเมื่อฟังกับระบบเสียงใหญ่ๆ หรือหูฟังที่ขับเสียงย่านเบสได้โดดเด่น เพลงๆนี้จะสามารถส่งเสียงของย่าน Low หรือ Sub Bass ที่มีความหนามากๆตั้งแต่เริ่มเพลง โดยให้เสียงกระเดื่อง(Kick Drum) ที่กระแทกออกมาพร้อมเสียงของกีตาร์เบส(E.bass) ได้ดี

 

วิเคราะห์ย่าน Middle 

  • ส่วนชิ้นดนตรีในย่านเสียงกลางจะโดดเด่นไปที่ เสียงกลองสแนร์ที่เป็นแบบ Rim Shot, กีตาร์คอร์ด, เสียงนักร้องทั้งหญิง,ชาย, เครื่องเป่าทองเหลือง, รวมถึงคีย์บอร์ด 

 

วิเคราะห์ย่าน High, Treble 

  • สำหรับย่านเสียงสูงของเพลง จะโดดเด่นไปที่รายละเอียดเครื่องให้จังหวะอย่างพวกฉาบแฉ (Hi-Hat), เครื่อง Percussion อย่างพวก Shaker, กลอง Bongo, และได้สีสันความสว่างของเพลงจากพวกเอฟเฟคกรุ๊งกริ๊งจากราวแขวน (Chime)

 

โทนเสียงโดยรวมจาก FIIL CC Nano

  • โทนโดยรวม 425Audio รู้สึกว่าคาแรคเตอร์เสียงของหูฟัง FIIL CC Nano นั้นมีความแห้งของย่านเสียงต่ำหรือเบส และขาดสีสันไปหน่อยในช่วงย่านเสียงกลาง-สูง, และสูง ซึ่งสังเกตจากชิ้นดนตรี Percussion ที่คอยให้จังหวะ แต่ยังมีความโปร่งเคลียร์ของเสียงในย่านกลางที่ดีตามสไตล์หูฟัง

 


 

425Audio ลองปรับ EQ

truewireless,หูฟังไร้สาย,EQ,Equalizer,ปรับเสียงหูฟังยังไง,ปรับ EQ เสียงหูฟัง,หูฟังบลูทูธ,หลักการใช้งาน EQ

 

เสียงย่าน Low

  • มีการ Boost ในช่วงย่านความถี่ช่วง 31,63,125 ขึ้นตามภาพ เพื่อให้ได้โทนความหนาของเสียงกระเดื่อง,กีตาร์เบสที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

เสียงย่าน Middle

  • มีการ Boost ในช่วงย่านความถี่ช่วง 2k,4kHz ขึ้นเพียงเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความเคลียร์ของกลองสแนร์(Rim Shot) ให้มีจังหวะที่หนักแน่นขึ้น เพื่อให้การฟังโดยรวมมีความสมดุลไปกับย่านเสียงต่ำ และได้อรรถรสกว่าเดิมครับ

 

เสียงย่าน High,Treble

  • มีการ Boost ในช่วงย่านความถี่ช่วง 8k,16kHz ขึ้นเช่นกัน เพื่อให้ได้โทนเสียงที่มีความโปร่งขึ้น กรุ๊งกริ๊งหรือใสขึ้นในการฟังตามสไตล์หูฟัง Earbuds ครับ

 

3 ขั้นตอนง่ายๆ

ฝึกฟัง > วิเคราะห์ > ลองปรับตามที่ชอบ

 


 

สรุป

  • เป็นไงกันบ้างครับเพื่อนๆ หวังว่าบทความนี้จะช่วยปูพื้นฐาน Basic เรื่องเสียง, รวมถึง Basic ในการใช้งานอุปกรณ์ EQ ได้ไม่น้อยเลยใช่มั้ยครับ สุดท้ายนี้ หากทีมงาน 425Audio ผิดพลาดประการใด เพื่อนๆสามารถให้คำแนะนำ ติชมกันได้ที่ 425Audio, 425Degree บน Facebook และ www.425degree.com นะครับ ยังไงทีมงานต้องกราบอภัยไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับ

Related posts